เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 พึงทราบจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะนั่นแล
บทว่า มหโต อนตฺถาย สํวตฺตติ ความว่า จิตแม้ให้เทวสมบัติ มนุษย-
สมบัติ และความเป็นใหญ่ในมารและพรหม ยังให้ชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเนือง ๆ และให้
วัฏฏะคือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ย่อมให้แต่กองทุกข์
อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
อย่างใหญ่.
จบ อรรถสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4


บทว่า จิตฺตํ ในสูตรที่ 4 ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะ.
จบ อรรถกถสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5 - 6


ในสูตรที่ 5 - 6 มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า อภาวิตํ
อปาตุภูตํ
ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ดังนี้ ในข้อนั้นมีอธิบายดัง
ต่อไปนี้ว่า จิตแม้เกิดด้วยอำนาจวัฎฏะ ก็ชื่อว่าไม่อบรม ไม่ปรากฏ
เพราะเหตุไร ? เพราะไม่สามารถจะแล่นไปในวิปัสสนาที่มีฌาน
เป็นบาท มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นโลกุตตระ ส่วนจิตที่เกิดด้วย
อำนาจวิวัฏฏะ ชื่อว่าเป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุไร ?
เพราะสามารถแล่นไปในธรรมเหล่านั้นได้ ส่วนท่านพระปุสสมิตต

เถระ ผู้อยู่กุรุนทกวิหาร กล่าวว่า ผู้มีอายุ มรรคจิตเท่านั้น ชื่อว่า
เป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 5 - 6

อรรถกถาสูตรที่ 7 - 8



ในสูตรที่ 7 - 8 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อพหุลีกตํ ได้แก่ไม่กระทำบ่อย ๆ พึงทราบเฉพาะจิต
ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ทั้ง 2 ดวง แม้นี้แล.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 7 - 8

อรรถกถาสูตรที่ 9



ในสูตรที่ 9 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
(จิต) ชื่อว่า นำทุกข์มาให้ เพราะชักมาคือนำมาซึ่งวัฏฏทุกข์ ที่
ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์) บาลีว่า
ทุกฺขาธิวาหํ ดังนี้ก็มี ความแห่งบาลีนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ว่า จิต
ชื่อว่า ทุกขาธิวาหะ เพราะยากที่จะถูกนำส่งตรงต่ออริยธรรม
อันมีฌานที่เป็นบาทของโลกุตตระเป็นต้น แม้จิตนี้ก็คือจิตที่เกิดขึ้น
ด้วยอำนาจวัฏฏทุกข์นั่นเอง. จริงอยู่ จิตนั้น แม้จะให้เทวสมบัติ
และ มนุษย์สมบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว ก็ชื่อว่านำทุกข์มาให้ เพราะ
นำชาติทุกข์เป็นต้นมาให้ และชื่อว่ายากที่จะนำไป เพราะส่งไปเพื่อ
บรรลุอริยธรรมได้โดยยาก.
จบ อรรถกถาสูตรที่ 9